นรีรัตน์ ไกรทอง

นรีรัตน์ ไกรทอง ผู้ประสานงาน DEPA และนักวิจัย ประจำระยองพัฒนาเมือง นรีรัตน์ ไกรทอง ชื่อเล่น โบนัส อาศัยอยู่ในจังหวัดระยองตั้งแต่เกิดจนจบมัธยมศึกษา ก่อนจะย้ายไปศึกษามหาวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และทำการศึกษาต่อปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากการเรียนปริญญาโทจำเป็นที่จะต้องเลือกสาขาเฉพาะทางที่เราสนใจ ในตอนนั้นเป็นช่วงค้นหาตัวเอง หาสิ่งที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน ที่ไม่ใช่แค่เพียงการทำงานในห้องสี่เหลี่ยม หรือการออกแบบผลงานที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว โดยเริ่มศึกษาและสนใจเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture) ที่จะนำไปสู่การทำงานออกแบบที่ส่งผลกับชุมชน และการพัฒนาชุมชนโดยรอบของบ้านเกิดตัวเอง จึงเกิดการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อรับคัดเลือกในการศึกษาปริญญาโท หลังจากการสัมภาษณ์คัดเลือกในวันนั้น ก็ไม่คิดว่าจะพาความฝันและโอกาสหลายๆอย่างมาถึงวันนี้ ตลอดเส้นทางในการเข้าศึกษาระยะเวลา 2 ปีทำให้ค้นพบตัวเองมากขึ้น จากการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การพบเจอผู้คนที่หลากหลายการมองเห็นปัญหาของวิถีชีวิตอย่างแท้จริง ความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นมุมสะท้อนการออกแบบในบทบาทสถาปนิกที่จะตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของผู้คนในระดับชุมชนเมือง การทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าและอัตลักษณ์ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมให้คงอยู่อย่างมีความหมาย ร่วมไปถึงการพัฒนาให้เกิดความอยู่รอดจากการปรับตัวไปกับสถานการณ์สภาพปัจจุบันของสังคม ตลอดระยะเวลาในการสะสมประสบการณ์ ทั้งการทำกิจกรรมโครงการ ASA CAN WORKSHOP รถไฟฟ้ามาหานะคลอง เป็นโครงการเชื่อมต่อชีวิตคนเมืองและวิถีชีวิตชุมชนติดริมคลอง โครงการแผนอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามของ World Monuments Fund ร่วมกับกรมศิลปากร โครงการ Bangkok […]
ภูษิต ไชยฉ่ำ

ภูษิต ไชยฉ่ำ Co Founder เมื่อเห็นลูก ๆ หรือเห็นเด็กเล็ก ๆ ผมมองไปในอนาคต อนาคตที่มีทั้งความหวังและความเป็นห่วง ผมเป็นคนระยอง เกิดและเติบโตที่นี่ เติบโตขึ้นในช่วงที่ระยองมีการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน นับจากคลื่นการเปลี่ยนแปลงลูกแรก โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2525 จนถึงคลื่นลูกปัจจุบัน โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC: Eastern Economic Corridor) ผมมองอนาคตที่มีความหวัง เช่นด้านการเติบโตของตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดที่จะเกิดขึ้นกับจังหวัดใน EEC โดยเฉพาะระยองของเราเอง การที่ระยองเราจะมีศักยภาพใหม่ ๆ มีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ธุรกิจการค้าใหม่ ๆ คือโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของคนระยอง หรือผู้คนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ระยอง ท่ามกลางอนาคตที่มีความหวังผมมีความเป็นห่วงแฝงอยู่ค่อนข้างมาก ด้วยเหตุผลเพราะตลอดระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระยอง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างมากกับเมืองระยองของเรา โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกพัฒนาไม่ทันที่จะรองรับการเติบโต หรือไม่ก็พัฒนาอย่างไม่ถูกต้อง ที่ผมเป็นห่วงมากที่สุดคือคนระยองจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ สำหรับการอยู่อาศัยในเมืองที่ถูกพัฒนาด้วยนโยบายจากภายนอกเป็นหลักได้หรือไม่ อนาคตของลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร พวกเขาจะต้องอยู่ในเมืองที่มีสภาวะแบบไหน ผมและเพื่อน ๆ นักธุรกิจ นักพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงรวมตัวกันก่อตั้งบริษัทระยองพัฒนาเมืองขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความต้องการและความคิดเห็นของพลเมืองระยองกับหน่วยงานต่าง ๆ […]
พิชากร พิมลเสถียร

พิชากร พิมลเสถียร Corporate Sustainability พิชากร (ติ๊ก) เป็นที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ธุรกิจที่มีพื้นฐานจากสายงานสร้างสรรค์ เชี่ยวชาญด้านการออกแบบยุทธศาสตร์ธุรกิจและการสื่อสาร โดยใช้เทคโนโลยีการเก็บ กวาด และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในการออกแบบยุทธศาสตร์และกลยุทธ์สำหรับการบริหารธุรกิจ รวมถึงแคมเปญการสื่อสารองค์กร แบบ Omni Channels ครอบคลุมทั้ง Online – On ground และ On hands จบปริญญาตรีสายกราฟฟิค ระหว่างเรียนก็ทำงานพิเศษออกแบบและเขียนภาพประกอบให้ลูกค้าไปด้วย งานแรกหลังเรียนจบคือการเป็นครีเอทีฟในบริษัทโฆษณา ได้ทำงานให้กับลูกค้าที่เคยเห็นแต่ในทีวีและหนังสือพิมพ์ จากที่เคยแต่เห็น ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นได้สร้างสรรค์ให้คนอื่น ๆ ดูบ้างประสบการณ์การเป็น Creative และ Copywriter ในบริษัทโฆษณา ที่ต่อยอดไปจนถึงการสื่อสารองค์กร ได้ปูพื้นฐานการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้าน Storytelling การเขียนบท การผลิตสื่อ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและควบคุมสื่อผสมแบบมัลติมีเดีย ได้สร้างผลงานสื่อหลากรูปแบบเพื่อการสื่อสารองค์กรและการตลาดแก่องค์กรใหญ่ ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หน่วยงานราชการ และธุรกิจขนาดใหญ่หลากหลายองค์กร ระหว่างทำงานก็จัดเวลาส่วนหนึ่งไปแบ่งปันประสบการณ์เป็นอาจารย์พิเศษ ให้นิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อเนื่องเป็นสิบปีหลังจบปริญญาโทจากศศินทร์ […]
จักรินทร์ ศิริมงคล

จักรินทร์ ศิริมงคล นักวิจัย (ภาคชุมชน/ประชาสังคม) จักรินทร์ ศิริมงคล ชื่อเล่นหลิน เป็นคนระยองโดยกำเนิด บ้านอยู่ปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จบการศึกษา สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เติบโตมาจากการเป็นเด็กกิจกรรม ที่ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมในชุมชนกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมาจังหวัดระยอง ด้วยความที่เป็นเด็กหลังห้อง สมาธิสั้น เรียนไม่เก่งเลยไม่ค่อยสนใจเรียนเท่าไรนัก แต่กลับชอบกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ชอบถ่ายรูป ชอบเดินป่า ชอบวงสนทนา ชอบกินเบียร์ เอาจริงๆก็เติบโตมาจากวงสนทนาแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆทางสังคมในวงเหล้าเบียร์นั่นล่ะ วรรณกรรมเล่มแรก ๆ ที่อ่านและทำให้รู้สึกว่าเราก็ชอบอ่านหนังสือก็เป็นเรื่องพันธุ์หมาบ้า คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ และเรื่องที่เกี่ยวกับป่า ของอาจารย์ วัฒนา บุญยัง เช่น ใบไม้เปลี่ยนสี ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ ที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ของป่าผืนใหญ่ของภาคตะวันออกจากการพัฒนาจากภาครัฐ ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มที่ทำให้สนใจเรื่อง สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเป็นผู้เข้าร่วมก็พัฒนามาสู่คนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในชุมชน ได้มีโอกาสเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ เช่น นักสืบสายน้ำ นักสืบสายลม เกมสื่อความหมายธรรมชาติ ที่นำมาทำกิจกรรมกับเด็ก เยาวชน ซึ่งเราก็ได้พัฒนาทักษะการสอนของตัวเองไปด้วยเช่นกัน จึงทำให้เราชอบและเชื่อมั่นในกระบวนการเรียนรู้ในแบบนี้มาก […]
ชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์

ชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ นักวิจัย (ภาคการศึกษา) ชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ หรือ ปอนด์ เป็นคนกรุงเทพที่ใช้ชีวิตอยู่ในระยองนานจนลืมไปแล้วว่าเป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาด้านศึกษาศาสตร์ (ครุศาสตร์อุตสหกรรม คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เริ่มมีความคิดอยากสร้างโรงเรียนของตัวเองตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนเพราะคิดว่าโรงเรียนไม่สนุกและทำให้สนุกกว่านี้ได้ เริ่มรู้จักและสนใจงานพัฒนาสังคมตั้งแต่อยู่ชั้นมอ 3 จึงเข้าร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมาและเริ่มเห็นความสำคัญของงานการศึกษา เพราะชอบเห็นการเปลี่ยนผ่านของการเรียนรู้และความเติบโตของเด็ก จึงทำให้ตัดสินใจเลือกเรียนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา เมื่อใกล้จบเลยจับมือกับกลุ่มเพื่อนทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเพื่อก่อตั้งกลุ่ม “Dot to Dot” ขึ้นโดยมีความฝันร่วมกันว่าอยากสร้างโรงเรียนที่เด็ก ๆ ได้เติบโดอย่างเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจความหลากหลาย และเรียนรู้เพื่อเป็น Global Citizen และ Active Citizen ต่อไป ด้วยอุดมการณ์ในการสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นทั้งในมิติของการพัฒนาคนและพัฒนาเมืองที่มีร่วมกัน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นที่การเรียนรู้ Converstation Co-Learning Space จะสร้างผลกระทบทางสังคมด้านการศึกษาทางบวกให้กับคนในเทศบาลนครระยอง เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองแห่งความเจริญในทุกมิติ “เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดทั้งช่วงชีวิต บวกกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปฏิวัติเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 อย่างก้าวกระโดด พื้นที่การเรียนรู้จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ เติบโต และอยู่ร่วมกับโลกยุคใหม่ได้อย่างเป็นพลวัตร” ชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ […]
ภูมิสันต์ เลิศรัตนนันท์

ภูมิสันต์ เลิศรัตนนันท์ นักวิจัย (ภาครัฐ/เอกชน) ภูมิสันต์ เลิศรัตนนันท์ หรือยีนส์ เป็นคนปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จบการศึกษาด้านสังคมวิทยา (เอกการพัฒนาชุมชนเมือง) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจการเรียนด้านสังคม/การเมือง มาตั้งแต่เด็ก ส่วนนึงเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ครอบครัวเป็นนักการเมืองท้องถิ่น แถมวัยเด็กยังชอบเล่นเกม The Sim City มาก ๆ เป็นเกมสร้างเมืองและช่วยฝึกบริหารจัดการเมือง เล่นได้ข้ามวันข้ามคืน แม้โตมาก็ยังเล่นอยู่ ทั้งหมดเลยหล่อหลอมให้ตัดสินใจเลือกเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง ตอนเรียนปริญญาตรีนอกจากจะทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยแล้ว ช่วงปิดเทอมก็หาเรื่องกับเพื่อน ๆ ชวนกันจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนที่ปากน้ำประแส เริ่มจากนั่งคุยกันถกปัญหาของชุมชนและตัดสินใจรวมกลุ่มเยาวชนขึ้นมา ทำงานทั้งด้านความคิด การพัฒนา และด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน แม้ว่าสุดท้ายสมาชิกจะแยกย้ายกันไปตามเส้นทางของแต่ละคนแล้ว แต่ก็ยังคงทำงานนี้ร่วมกับชุมชนที่ปากน้ำประแสอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อจบปริญญาตรีได้มีโอกาสเริ่มงานกับรุ่นพี่และเพื่อนจาก มศว ทำงานบริหารโครงการวิจัย โดยได้รับทุนจาก สสส. ในการสนับสนุนงานด้านการพัฒนาสังคมของนิสิต มจร. เป็นช่วงเวลา 4 ปี ที่ได้ประสบการณ์ด้านการบริหารโครงการและทำวิจัย ได้ลงพื้นที่ทั่วประเทศไปพบเห็นแนวคิดด้านการพัฒนาสังคมหลากหลายมิติ พออิ่มตัวแล้วจึงตัดสินใจออกจากงานเดิม เปลี่ยนมาทำงานตามฝัน สนองความต้องการของตัวเองอีกหนึ่งสิ่ง […]